how to create a site

ความรู้เกี่ยวกับปลวก ปลวกเป็นแมลงที่มีความสำคัญในแง่เศรษฐกิจมาก มีทั้งคุณและโทษ ในแง่ประโยชน์ปลวกจัดเป็นส่วนหนึ่งของสังคมป่าไม้ที่สำคัญมาก เป็นทั้งผู้สร้างและผู้ทำลายในระบบนิเวศโทษของปลวกนั้นเกิดขึ้นเพราะว่า ปลวกเป็นแมลงที่ต้องการเซลลูโลสเป็นอาหารหลักในการดำรงชีวิต และโดยที่เซลลูโลสนั้นเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของเนื้อไม้ ดังนั้นเราจึงพบปลวกเข้าทำความเสียหายอย่างรุนแรงให้แก่ไม้ หรือโครงสร้างไม้ภายในอาคารบ้านเรือน รวมถึงวัสดุข้าวของเครื่องเรือน เครื่องใช้ต่างๆที่ทำมาจากไม้และผลิตภัณฑ์อื่นๆที่มีเซลลูโลสเป็นส่วนประกอบ

ในประเทศไทยมีปลวกแพร่กระจายอยู่กว่าหนึ่งร้อยชนิด แต่มีเพียงสิบกว่าชนิดเท่านั้นที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อไม้ที่นำไปใช้ประโยชน์ ปลวกใต้ดินจัดเป็นปลวกที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจสูงที่สุด โดยก่อให้เกิดความเสียหายต่ออาคารบ้านเรือนคิดเป็นมูลค่าปีละหลายลิบล้านบาทการเข้าทำลายของปลวกชนิดนี้จะเริ่มขึ้นจากปลวกที่อาศัยอยู่ใต้พื้นดิน ทำท่อทางเดินดินทะลุขึ้นมาตารอยแตกแยกของพื้นคอนกรีต หรือรอยเชื่อมต่อระหว่างผนัง เสา และคานไม้ พื้นปาร์เก้ คร่าว เพดาน คร่าวฝา ไม้วงกบประตู และหน้าต่าง เป็นต้น

ในการดำรงชีวิตของปลวกใต้ดิน นอกจากอาหารแล้วความชื้นเป็นปัจจัยที่สำคัญในการดำรงชีวิตของปลวกอีกประการหนึ่ง ข้อมูลทางชีววิทยาและนิเวศวิทยาของปลวกนี้ ช่วยให้สามารถวางแผน และวางแนวทางในการป้องกัน และกำจัดปลวกได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีวิธีดำเนินการหลายวิธี เช่น การทำให้พื้นดินใต้อาคารเป็นพิษ การทำแนวป้องกันใต้อาคารที่ปลวกใต้ดินไม่สามารถเจาะผ่านได้ หรือการทำให้เนื้อไม้เป็นพิษปลวกใช้เป็นอาหารไม่ได้การดำเนินการมีทั้งการใช้สารเคมีและไม่ใช้สารเคมี ซึ่งขั้นตอนในการป้องกันกำจัดปลวกนี้ประชาชนทั่วไปสามารถจะนำไปปฏิบัติได้ด้วยตนเอง เพื่อช่วยลดความเสียหายและช่วยยืดอายุการใช้ประโยชน์ไม่ให้คงทนถาวรขึ้น ตามรายละเอียดที่จะกล่าวถึงต่อไป


เฟิร์สคลาส เพส คอนโทรล
เฟิร์สคลาส เพส คอนโทรล
เฟิร์สคลาส เพส คอนโทรล
เฟิร์สคลาส เพส คอนโทรล
เฟิร์สคลาส เพส คอนโทรล

ชีวิตความเป็นอยู่ และวงจรชีวิตของปลวก

ปลวกเป็นแมลงที่มีชีวิตความเป็นอยู่แบบสังคม มักอยู่รวมกันเป็นกลุ่มใหญ่ภายในรังโดยทั่วไปมีนิสัยไม่ชอบแสงสว่าง ชอบที่มืดและอับชื้น ประชากรปลวกมีการแบ่งแยกหน้าที่การทำงานออไปเป็นวรรณะต่างๆ รวม 3 วรรณะคือ

1

วรรณะสืบพันธ์ หรือแมลงเม่า

ประกอบด้วยตัวเต็มวัยที่มีปีกทั้งเพศผู้และเพศเมีย ทำหน้าที่สืบพันธุ์และกระจายพันธุ์โดยจะบินออกจากรังเมื่อดินฟ้าอากาศเหมาะสม เพื่อจับคู่กันและจะสลัดปีก ผสมพันธุ์กันและหาพื้นที่ที่เหมาะสมเพื่อวางไข่

2

วรรณะกรรมกร หรือปลวกงาน

เป็นปลวกตัวเล็กสีขาวนวลไม่มีปีก ไม่มีเพศ ไม่มีตา ใช้หนวดเป็นอวัยวะรับความรู้สึกคลำทาง ทำหน้าทีเกือบทุกอย่างภายในรัง เช่น หาอาหารมาป้อนราชินี ราชา ตัวอ่อนและทหารซึ่งไม่หาอาหารกินเองนอกจากนี้ยังทำหน้าที่สร้างรัง ทำความสะอาดรัง ดูแลไข่เพาะเลี้ยงเชื้อราและซ่อมแซมรังที่ถูกทำลาย

3

วรรณะทหาร

เป็นปลวกที่มีหัวโต สีเข้ม และแข็งมีกรามขนาดใหญ่ ซึ่งดับแปลงไปเป็นอวัยวะคล้ายคีมที่มีปลายเหลมคมเพื่อใช้ในการต่อสู้กับศัตรูที่มารบกวนสมาชิกภายในรัง ไม่มีปีก ไม่มีตา ไม่มีเพศบางชนิดจะดัดแปลงส่วนหัวให้ยื่นยาวออกไปเป็นงวง เพื่อกลั่นสารเหนียวปล่อยหรือพ่นไปติดตัวศัตรูทำให้เคลื่อนไหวไม่ได้ หรืออาจทำให้ตายได้

การสร้างอาณาจักรหรือนิคมของปลวก  เริ่มต้นขึ้นเมื่อฤดูการเหมาะสม ส่วนใหญ่มักเป็นช่วงหลังฝนตกปีละประมาณ 2-3 ครั้งโดยแมลงเม่าเพศผู้และเพศเมีย (Alate or winged reproductive male of female) บินออกจากรังในช่วงเวลาพลบค่ำประมาณ 18.30-19.30 น. เพื่อมาเล่นไฟจับคู่ผสมพันธุ์กันจากนั้นจึงสลัดปีกทิ้งไป แล้วเจาะลงไปสร้างรังในดินในบริเวณที่มีแหล่งอาหารและความชื้น หลังจากปรับสภาพดินเป็นที่อยู่แล้วประมาณ 2-31 วันจึงเริ่มวางไข่เป็นฟองเดี่ยวๆและจะเพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ จนอาจถึงวันละหลายพันฟอง ไข่จะฝักออกมาเป็นตัวอ่อน (Larva) และจะเจริญเติบโตโดยมีการลอกคราบจนเป็นตัวเต็มวัย ไข่รุ่นแรกจะฝักออกมาเป็นปลวกไม่มีปีกและเป็นหมันสารเคมีที่เรียกว่าฟีโรโมนหรือสารที่ผลิตออกมาจากทวารหนักของราชินี เพื่อให้ตัวอ่อนเกิดจะเป็นตัวกำหนดให้ตัวอ่อนพัฒนาไปเป็นปลวกวรรณะต่างๆเช่นปลวกงาน (Worker) ปลวกทหาร (Soldier) โดยบางส่วนของตัวอ่อนจะเจริญไปเป็นปลวกที่มีปีกสั้น ไม่สมบูรณ์ ซึ้งอยู่ในช่วงระยะเจริญพันธุ์ (Nymphs) เมื่อถึงฤดูผสมพันธุ์จะเจริญไปเป็นแมลงเม่า ซึ่งมีปีกยาวสมบูรณ์เต็มที่บินออกไปผสมพันธุ์ต่อไป ตัวอ่อนบางส่วนจะเจริญเติบโตเป็นปลวกวรรณะสืบพันธุ์รอง (Supplementary Queen and king) ซึ่งทำหน้าที่ผสมพันธุ์และอกไข่ เพิ่มจำนวนประชากร ในกรณีที่ราชา (King) หรือราชินี (Queen) ของรังถูกทำลายไป

นิเวศวิทยาของปลวก

สภาพความเป็นอยู่ หรือสภาพทางนิเวศวิทยา รวมถึงอุปนิสัยในการกินอาหารของปลวกแตกต่างกันออกไป แล้วแต่ชนิดและประเภทของปลวก ซึ่งสามารถจำแนกอย่างกว้างๆเป็น2 ประเภท โดยใช้แหล่งที่อยู่อาศัยเป็นหลักได้ ดังนี้

1

ปลวกที่อาศัยอยู่ในไม้

ปลวกชนิดนี้ตลอดชีวิตจะอาศัยและกินอยู่ภายในเนื้อไม้ โดยมีการสร้างทางเดินมาติดต่อกับพื้นดินเลย ลักษณะทั่วไปที่บ่งชี้มีปลวกในกลุ่มนี้เข้าทำลายไม้คือ วัสดุแข็งเป็นเม็ดกลมรีอยู่ภายในเนื้อไม้ที่ถูกกินเป็นโพรง หรืออาจร่วงหล่นออกมาภายนอกตามรูที่ผิวไม้

2

ปลวกไม้แห้ง (Dry-wood termites)

ปลวกชนิดนี้อาศัยอยู่ในไม้ที่แห้งหรือไม้ที่มีอายุใช้การมานานลีความชื้นต่ำ โดยปกติมักจะไม่ค่อยเห็นตัวปลวกชนิดนี้อยู่นอกชิ้นไม้ แต่จะพบวัสดุแข็งรูปกลมรี ก้อนเล็กๆกองอยู่บนพื้นบริเวณโคนเสาฝาผนัง หรือโครงสร้างไม้ที่ถูกทำลาย โดยทั่วไปปลวกชนิดนี้จะทำลายไม้เฉพาะภายไนชิ้นไม้โดยเหลือชิ้นไม้ด้านนอกเป็นฟิล์มบางๆไว้ ทำไห้มองดูภายนอกเหมือนไม้ยังอยู่ในสภาพดี

3

ปลวกไม้เปียก (Damp-Wood termites)

ปลวกชนิดนี้มักอาศัยและกินอยู่ในเนื้อไม้ของไม้ยืนต้น หรือไม้ล้มตายที่มีความชื้นสูง

4

ปลวกที่อาศัยอยู่ในดิน

ปลวกประเภทนี้จะอาศัยอยู่ในดิน แล้วออกไปหาอาหารที่อยู่ตามพื้นดินหรือเหนือพื้นดินขึ้นไป โดยส่วนใหญ่จะทำท่อทางเดินดินห่อหุ้มตัว เพื่อป้องกันการสูญเสียความชื้น และ หลบซ่อนตัวจากศัตรูที่จะมารบกวน

5

ปลวกใต้ดิน (Subterranean termites)

เป็นปลวกที่อาศัยและทำรังอยู่ใต้ดิน เช่น ปลวกในสกุล Coptotermes, Microtermes, Ancistrotermes และ Hypotermes เป็นต้น

6

ปลวกที่อาศัยอยู่ตามจอมปลวก (Mound-building termites)

เป็นปลวกที่สร้างรังขนาดกลางถึงขนาดใหญ่อยู่บนพื้นดินเช่นปลวกในสกุล Globitermes, Odontotermes และ Macrotermes เป็นต้น

7

ปลวกที่อาศัยอยู่ตามรังขนาดเล็ก(Carton nest termites)

เป็นปลวกที่สร้างรังขนาดเล็กอยู่บนดินหรือเหนือพื้นดิน เช่น ตามกิ่งไม้ ต้นไม้ เสาไฟฟ้า หรือโครงสร้างอื่นๆ ภายในอาคาร เช่น ปลวกในสกุล Microcerotermes, Termes, Dicuspiditermes, Nasutitermes และ Hospitalitermes เป็นต้น

การกินอาหารของปลวก

แหล่งอาหารของปลวก จำแนกออกเป็น 4 ประเภท คือ

1

ไม้ (wood)

2

ดินและฮิวมัส (Soil and Moss )

3

ใบไม้และเศษซากพืชที่ทับถมอยู่บนพื้นดิน (Lave and litter)

4

ไลเคนและมอส ( Lichen and Moss )

ปลวกส่วนใหญ่จะกินอาหารประเภทเนื้อไม้ เปลือกไม้ เศษไม้ ใบไม้ หรือวัสดุ อื่นๆ ที่มีเซลลูโลส เป็นองค์ประกอบ โดยในระบบทางเดินอาหารของปลวกจะมีสัตว์เซลล์เดียวคือ โปรโตซัวในปลวกชั้นต่ำ หรือมีจุลินทรีย์ ได้แก่ แบคทีเรีย และเชื้อราในปลวกชั้นสูงซึ้งจะทำหน้าที่ช่วงในการย่อยอาหารประเภทเซลลูโลส หรือสารประกอบอื่นๆให้กลายเป็นอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายปลวก